พระราชพิธี “บรมราชาภิเษก” คืออะไร

Rama_IX_on_his_Throne

             เมื่อพระเจ้าแผ่นดินสวรรคต ตามโบราณราชประเพณีของไทย พระนามของผู้ที่ได้รับการเลือกให้เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ ก็ยังจะคงใช้ขานพระนามเพียง “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ไม่มีคำว่า”พระบาทขึ้นต้น” เครื่องยศบางอย่างก็ต้องลด เช่น พระเศวตฉัตร มีเพียง ๗ ชั้น มิใช่ ๙ ชั้น คำสั่งของพระองค์ ก็ไม่เรียกว่า พระบรมราชโองการ จนกว่าจะได้ทรงรับการบรมราชาภิเษก จึงถวายพระเกียรติยศโดยสมบูรณ์”

ดังนั้นจะต้องมีการจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นเพื่อ จะได้ดำรงเป็นพระมหากษัตริย์ธิราชเจ้าอย่างสมบูรณ์ หรือทำความเข้าใจได้อีกอย่างว่า พิธีที่จัดขึ้นเพื่อรับรองฐานะความเป็นประมุขของรัฐอย่างเป็นทางการซึ่งปรากฏหลักฐานเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์คือ ศิลาจารึกวัดศรีชุมของพญาลิไท แห่งกรุงสุโขทัย กล่าวคือ พ่อขุนผาเมืองอภิเษกพระสหายคือ พ่อขุนบางกลางท่าว ให้เป็นพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ผู้ครองกรุงสุโขทัย แต่ก็ไม่มีรายละเอียดการประกอบพระราชพิธี ว่ามีขั้นตอนอย่างใด

จนกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อขึ้นเสวยราชสมบัติ ได้ทรงทำพระราชพิธีนี้อย่างสังเขป เมื่อพุทธศักราช ๒๓๒๕ ครั้งหนึ่งก่อนแล้วทรงตั้งคณะกรรมการ โดยมีเจ้าพระยาเพชรพิชัย ซึ่งเป็นข้าราชการในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นประธาน สอบสวนแบบแผนโดยถี่ถ้วน ตั้งขึ้นเป็นตำรา แล้วทรงทำบรมราชาภิเษกเต็มตำราอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพุทธศักราช ๒๓๒๘ และได้ใช้เป็นแบบแผนในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ของรัชกาลต่อๆ มาจนถึงปัจจุบัน  เช่นในรัชกาลปัจจุบัน เมื่อสำเร็จการศึกษา สมเด็จพระเจ้าอยุ่หัวเสด็จนิวัตกลับประเทศไทยในปี พ.ศ. 2493 ทรงประกอบพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ต่อจากนั้นได้โปรดเกล้าฯจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ขึ้นเป็น”พระบาทสมเด็จ”พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช.

 

 

ใส่ความเห็น