การล่มสลายของจักรวรรดิไบเซนไทน์ และการขึ้นมาเรืองอำนาจของจักรวรรดิออตโตมัน

อาณาจักรออตโตมันเติร์ก หรือ อาณาจักรอุษมาน (อุษมาณียะห์) ได้ถือกำเนิดขึ้นมาในปี ค.ศ.1299 หลังจากที่อาณาจักรอนาโตเลียได้ล่มสลายลงไปจากฝีมือของกองทัพแห่งจักรวรรดิมองโกล

อาณาจักรแห่งนี้ได้ถูกสถาปนาขึ้นโดย อุษมาน โดยที่พระองค์นั้นก็ได้ทรงสถาปนาและเรียกตนเองว่า “ปาดิชาห์” ขึ้นมาปกครองแคว้นโซมุตที่อยู่ในทางทิศตะวันตกของแผ่นดินอนาโตเลีย จึงถือว่าพระองค์คือ “สุลฎ็อน” หรือ “สุลต่าน” พระองค์แรกแห่งอาณาจักรออตโตมันหรืออาณาจักรอุษมาน (อุษมาณียะห์) แห่งอนาโตเลีย

ในช่วงรัชสมัยของสุลต่านสิบพระองค์แรกนั้น ต่างต้องทรงทำสงครามครั้งใหญ่กับทางอาณาจักรไบเซนไทน์ที่มีดินแดนใกล้ชิดกัน รวมไปถึงกลุ่มประเทศหรืออาณาจักรที่อยู่ในแถบแหลมบอลข่าน เช่น เซอร์เบีย บัลแกเรีย วอแลคเซีย (โรมาเนีย) ฮังการี เป้นต้น ซึ่งในการทำสงครามทั้งหลายส่วนใหญ่ อาณาจักรออตโตมันมักจะเป็นฝ่ายที่กำชัยชนะได้มากกว่า แต่ทว่าในช่วงรัชสมัยของสุลต่านบายาซิด (Sultan Bayasid) สุลต่านพระองค์ที่ 4 ต้องรับศึกหนักอันเนื่องมาจากการโจมตีของพวกตาตาร์ ที่นำมาโดยติมูร์หรือว่าในอีกชื่อหนึ่ง คือ ทาร์เมอลัน องค์สุลต่านทรงถูกจับและสิ้นพระชนม์ในที่สุดจากการทรงถูกทรมาน

1200px-Chlebowski-Bajazyt_w_niewoli

สุลต่านบายาซิดถูกจับโดยติมูร์

และด้วยสาเหตุที่อาณาจักรออตโตมันมีเขตชายแดนที่ติดกับอาณาจักรไบเซนไทน์ จึงทำให้อาณาจักรทั้งสองต้องทำสงครามกันอยู่เนืองๆ ทั้งสองอาณาจักรต่างฝ่ายต่างสู้รบกันอย่างหนัก แต่ทว่าอาณาจักรที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดในการสงครามทุกๆครั้ง ก็เห็นจะเป็น อาณาจักรไบเซนไทน์

นับตั้งแต่การเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิลให้กับพวกนักรบครูเสดในช่วงปี ค.ศ.1204 จักรวรรดิไบเซนไทน์ได้ยุติการปกครองลง และก็ได้แตกแยกออกเป็นสามแผ่นดิน ซึ่งก็ยังรวมไปถึงอาณาจักรละติน ที่ได้ถูกตั้งขึ้นมาปกครองนครคอนสแตนติโนเปิล ซึ่งการกระทำในครั้งนี้นับว่าเป็นการเริ่มต้นสุดยุคสมัยแห่งความเสื่อมอย่างหนักที่สุดของแผ่นดินที่ได้ชื่อว่า “โรมันตะวันออก” หรือ “ไบเซนไทน์”

และถึงแม้ว่าจะได้พระนครคอนสแตนติโนเปิลกลับคืนมาจาการทำสงคราม และแผ่นดินที่เป็นของอาณาจักรไบเซนไทน์ส่วนในทั้งหมดจะได้กลับคืนมาอยู่ในการปกครองของชาวคริสเตียน แต่ทว่าช่วงเวลาของอาณาจักรก็หาได้มีความยั่งยืน นับตั้งแต่การรุกรานของชาวมุสลิมเติร์กเป็นต้นมา แผ่นดินและหัวเมืองต่างๆ ที่ได้เคยตกเป็นของอาณาจักรไบเซนไทน์ก็ได้ถูกยึดครองไปเรื่อยๆ อันเป็นผลมาจากการสู้รบและก็ความเสื่อมภายในที่ได้คอยกัดกินอาณาจักรให้อยู่ในสภาพคล้ายคนที่กำลังป่วยหนัก ซึ่งก็พยายามรักษาตนเองเพื่อที่จะยืดชีวิตให้อยู่ได้นานที่สุด ซึ่งในช่วงขณะนั้นอาณาจักรไบเซนไทน์ก่อนที่จะล่มสลายลงนั้น มีอาณาเขตดินแดนอยู่แต่ในนครคอนสแตนติโนเปิลและแผ่นดินที่อยู่นอกกำแพงแห่งธิโอโดเซียสอีกนิดหน่อยเท่านั้น ซึ่งได้ทำให้ในตอนนี้จักรวรรดิ์ไบเซนไทน์ที่เคยมีความยิ่งใหญ่ มีอาณาเขตกินพื้นที่ไปยังถึงดินแดนอียิปต์และซีเรียรวมไปถึงเอเชียไมเนอร์ ก็ได้กลายสภาพเปลี่ยนเป็นนครรัฐเล็กๆที่ได้แต่กำลังรอวันที่จะถูกกลืนกินจากขั้วอำนาจใหม่

Edirne_Kusatma_Zonaro

สุลต่ามเมห์เม็ตที่ 2 เคลื่อนทัพไปยังคอนสแตนติโนเปิล พร้อมมหาปืนใหญ่

ซึ่งก็ว่าด้วยความโชคดีอันเป็นผลมาจากวิทยาการก่อสร้างในยุคโบราณ คือ กำแพงที่ป้องกันเมืองที่ได้สร้างขึ้นมาในช่วงรัชสมัยขององค์พระจักรพรรดิ์ธิโอโดเซียสที่ 2 (Theodosius II) แห่งอาณาจักรโรมันตะวันออก (จักรวรรดิ์ไบเซนไทน์ยุคแรก) เป็นกำแพงแบบสามชั้นที่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำการปกป้องจากเหล่าศัตรูที่เข้าโจมตีนคร กำแพงแห่งธีโอโดเซียสนี้ก็ได้ผ่านคืนวันนับจากก่อสร้างผ่านการศึกสงครามโจมตีนครมากมายเป็นเวลายาวนานเกือบพันปี ก่อนที่จะพังทลายลงจากวิทยาการแห่งปืนใหญ่จากพวกออตโตมันในเวลาต่อมา

ในปี ค.ศ.1390 และ 1391 สุลต่ายไบยัดซีที่ 1 ทรงได้พยายามเข้าปิดล้อมกรุงถึงสองครั้งแต่ก็ไม่สำเร็จ ในปี ค.ศ.1422 สุลต่ามมูราตที่ 2 ก็ได้พยายามบุกเข้าโจมตีกรุงคอนสแตนติโนเปิลอีกเป็นครั้งที่ 3 แต่ว่าก็ไม่ประสบความสำเร็จอีกตามเคย ด้วยว่าความแข็งแกร่งของกำแพงที่ได้สร้างขึ้นมาจากวิทยาการแห่งยุคโบราณนั้นทรงอำนาจยิ่งกว่าที่อาวุธใดในยุคนั้นจะเอาชนะได้ จนกระทั่งในปี ค.ศ.1453 สุลต่านเมห์เม็ตที่ 2 หรือ ฟาติเมห์เม็ต (เมห์เม็ตผู้พิชิต) ในเวลาต่อมา ก็ได้เปิดฉากการโจมตีกรุงคอนสแตนติโนเปิล ซึ่งในช่วงเวลานั้นมีประชากรอยู่ในเมืองเพียง 50,000 คน จากที่เมื่อก่อนมีอยู่เป็นจำนวนมากถึงประมาณ 500,000 คน

Kusatma_Zonaro

สุลต่ามเมห์เม็ตที่ 2 ทรงบัญชาการเคลื่อนทัพลงเรือ

การเข้าปิดล้อมจากทั้งทางบกและทางทะเลขององค์สุลต่านเมห์เม็ตที่ 2 เริ่มต้นในช่วงฤดูใบไม้ผลิ วันที่ 10 มีนาคม ในปี ค.ศ.1453

ภายหลังจากที่ปิดล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้ 50 วัน กองทหารออตโตมันก็ทำได้การทลายกำแพงแห่งธีโอโดเซียสอันสูงใหญ่ที่สุดได้สำเร็จ อันมากจากวิทยาการปืนใหญ่ ซึ่งเป็นวิทยาการของใหม่ที่ได้ถูกคิดค้นเมื่อไม่นานมานี้ แต่ยังหาการทดลองไม่ได้ ศึกครั้งนี้จึงเป็นศึกสงครามที่เป็นทดลองวิทยาการใหม่เป็นอย่างยิ่ง และเป็นการถึงจุดจบของวิทยาการและความทรงจำแห่งโลกยุคโบราณเช่นกัน

1453Constantinopleresized
เพราะว่าในวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ.1453 กรุงคอนสแตนติโนเปิล เพชรนํ้าเอกแห่งจักรพรรดิ์คอนสแตนตินมหาราช ไบเซนทิอุมแห่งโรมันตะวันออก นครแห่งความทรงจำแห่งยุคโบราณ ก็ได้ถูกยึดครองได้ด้วยฝีมือของชาวออตโตมันเติร์ก ปิดฉากความรุ่งเรืองและอำนาจแห่งจักรวรรดิ์โรมันตะวันออก ที่ได้ยืนยงผ่านห้วงกาลเวลามาอย่างยาวนานอย่างสมบูรณ์ด้วยอายุ 1,123 ปี มีองค์จักรพรรดิขึ้นปกครองรวม 82 พระองค์ มาจากหลายราชวงศ์

จักรพรรดิ์คอนสแตนตินที่ 11 จักรพรรดิพระองค์สุดท้าย ทรงเสด็จสวรรคตอย่างมีปริศนาเงื่อนงำ หลังจากที่สุลต่านเมห์เม็ตที่ 2 ได้กรีฑาทัพเข้าสู่พระนคร

Zonaro_GatesofConst

การเสด็จพิชิตได้กรุงคอนสแตนติโนเปิลของสุลต่านเมห์เม็ตในครั้งนี้ ได้ถือว่าเป็นชัยชนะครั้งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของชาวออตโตมัน ซึ่งเป็นชนเชื้อสายชาวเติร์ก ซึ่งก็ได้ทำการอพยพเข้าสู่ยังดินแดนอนาโตเลีย ภายหลังจากที่องค์สุลต่านอัลฟาร์ซาลาน (Sultan Aphasalan) ได้ทรงมีชัยชนะ ในการทรงทำศึกสงครามกับทางองค์พระจักรพรรดิ์โรมานุสที่ 6 (Emperor Basileus Romanus VI) แห่งอาณาจักรไบเซนไทน์ (หรือว่า จักรวรรดิ์ไบเซนไทน์ยุคหลัง) ที่เมืองมาลัชเกิร์ต (Malazgirt) ในช่วงปีคริสตศักราช 1401 อีก 52 ปี ก่อนการพิชิตของสุลต่านเมห์เม็ตที่ 2

หลังจากการพิชิตกรุงคอนสแตนติโนเปิลแล้ว องค์สุลต่านเมห์เม็ตที่ 2 ก็ทรงได้ทำการสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นองค์มหาสุลต่าน ณ ที่แห่งนั้น คือ คอนสแตนติโนเปิล พระองค์ได้ทรงรับการขนามนามจากเหล่านักรบและชาวมุสลิมทั้งปวงที่อยู่ที่นั้นว่า ฟาติเมห์เม็ต (Fatih Mehmet)

คำว่า ฟาติ (Fatih) ในภาษาอิสลาม คือคำว่า “ผู้ชิชิต” (The conqueror) ตามภาษาอังกฤษ พระนาม “ฟาติเมห์เม็ต” (Fatih Mehmet) จึงมีความหมายว่า “องค์สุลต่านเมห์เม็ตผู้พิชิต” (Mehmet The Conqueror)

ทรงได้ทำการย้ายเมืองหลวงจาก เอดิร์เน (Edrine) มายังกรุงคอนสแตนติโนเปิล และมีการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น กรุงอิสลามบูล (Islambul) แต่ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนจากจักรวรรดิออตโตมัน กลายเป็น สาธารณรัฐตุรกี ในปี ค.ศ.1923 กรุงอิสลามบูล ก็ได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น อิสตันบูล (Istanbul) และชื่อนี้ก็ได้ถูกใช้มาจนถึงปัจจุบัน

ทรงทำการสถานาจักรวรรดิแห่งเหล่าชนชาวอิสลามทั้งปวงอีกครั้ง หลังจากที่ได้แตกกระสานซ่านเซ็นไปจากการสู้รบของพวกมองโกล พระองค์ก็ทรงได้ประกาศเปลี่ยนสถานะจาก “อาณาจักร (หรือรัฐสุลต่าน) ออตโตมัน” (Sultan State of Ottoman or Ottoman Kingdom) กลายเป็น “จักรวรรดิออตโตมัน” (Ottoman Empire) ปกครองแผ่นดินอนาโตเลีย และเอเชียไมเนอร์ทั้งหมดรวมไปถึงคาบสมุทรทะเลดำ ตกอยู่ในอำนาจของจักรวรรดิ์ออตโตมัน เป็นการเริ่มต้นจุดยุคสมัยแห่งความเจริญรุ่งเรืองแห่งราชวงศ์อุษมานิยะห์ (ราชวงศ์อุษมาน) แห่งอนาโตเลีย

เรื่องโดย : Feanore Kamui

พ.ร.บ. ความมั่นคง กับ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน มีข้อแตกต่างกัน

1. พ.ร.บ.ความมั่นคง ประชาชนฟ้องร้องเอาผิดเจ้าหน้าที่ได้ แต่ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฟ้องไม่ได้
2. พ.ร.บ.ความมั่นคง ยังอนุญาตให้มีการชุมนมได้ แต่ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไม่อนุญาตให้ชุมนุม
3. พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ให้อำนาจมากกว่า พ.ร.บ.ความมั่นคง เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติสามารถปิดล้อม-ตรวจค้น-จับกุมได้
4. หลังเสร็จสิ้นการใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง รัฐบาลต้องทำรายงานไปยังรัฐภา และเปิดให้รัฐสภาสอบถาม ดังนั้นปฏิบัติการต่างๆจึงต้องมีแผนงานชัดเจนแต่ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ถือเป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร ไม่จำเป็นต้องรายงานต่อรัฐสภา ซึ่งหากไม่จำเป็นจริงๆ รัฐบาลก็จะไม่นำพ.ร.ก. ฉุกเฉิน มาใช้

เข้าใจประวัติศาสตร์ตามเวลา

bbbb

fff

ประวัติศาสตร์ จะแบ่งเป็น 2 ยุคใหญ่ๆ คือ
1 ยุคก่อนประวัติศาสตร์
2 ยุคประวัติศาสตร์

จุดเปลี่ยนจาก ยุคก่อนประวัติศาสตร์เป็นยุคประวัติศาสตร์ คือ อักษร ถ้ามีอักษรคือยุคประวัติศาสตร์ ถ้าไม่มีอักษรเรียกว่ายุคก่อนประวัติศาสตร์ ขอย้ำนะครับว่าตัวที่เอามาแบ่งนั้นไม่ใช่ภาษา แต่เป็นอักษรคืออักษรเขียน
ชนกลุ่มแรกที่คิดค้นตัวอักษรคือ ชาวสุเมเรียน
อักษรแรกของโลก คือ อักษร คูนิฟอร์ม

1 ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จะแบ่งเป็นยุคหินเก่า และ หินใหม่
ถ้าพูดถึงยุคก่อนประวัติศาสตร์ก็คือยุคหินนั้นเอง ยุคหิน มีหินเก่า และหินใหม่ จุดตัดจากยุคหินเก่าสู่หินใหม่คือ การรู้จักเพาะปลูก ถ้ายังไม่รู้จักการเพราะปลูกคือหินเก่ารู้จักเพาะปลูกคือใหม่
เมื่อมีการเพาะปลูกคนยุคใหม่จึงหาที่ลุ่มแม่น้ำเพื่อทำการเพาะปลูก จากนั้นก็เริ่มที่จะสร้างที่อยู่ ตอนนี้เริ่มอยู่ริมแม่น้ำคนก็ขุดดินที่อยู่ตรงแม่น้ำ มาสลักรูปเป็นอักษรภาพ พวกแรกที่สลักอักษรภาพคือ ชาวสุเมเรียน
มันก็ทำให้เราจบยุคก่อนประวัติศาสตร์ และก้าวสู่ยุคประวัติศาสตร์

จำง่ายๆ
หินเก่า คือ ยุคที่อยู่ตามถ้ำเร่ร่อนไปเรื่อยๆ
หินใหม่ คือ การรู้จักเพราะปลูก มีที่อยู่อาศัย

2 ยุคประวัติศาสตร์
แต่ยุคประวัติศาสตร์มันมาเหลือเกินจึงแบ่งเป็น 4 ยุคคือ
1 ยุคโบราณ 2 ยุคกลาง 3 ยุคใหม่ 4 ยุคร่วมสมัย
คนที่แบ่งยุคประวัติศาสตร์คือคนที่อยู่ในยุคใหม่

การยุคประวัติศาสตร์แบ่งเป็น

2.1 ยุคโบราณ
ยุคโบราณคือยุคสร้างอารยธรรม เช่น กรีก โรมัน จีน อินเดีย ฯลฯ
จุดเปลี่ยนจากยุคโบราณสู่ยุคกลางคือ โรมันล่มสลาย

2.2 ยุคกลาง
ยุคกลางจะเป็นยุคที่มี ศักดินา สงครามครูเสด เป็น ยุคที่มี อัศวิน
เป็นยุคที่ ศาสนาศริสต์ครอบงำยุโรปอย่างหนัก ฯลฯ
จุดเปลี่ยนจากยุคกลางสู่ยุคใหม่คือ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ทวีปอเมริกา

2.3 ยุคใหม่
ยุคใหม่จะมีแต่ ปฏิวัติ เช่น ปฏิวัติเกษตรกรรม ปฏิวัติอุตสาหกรรม ปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ปฏิวัติประชาธิปไตย
การปฏิวัติจะอยู่ในยุคใหม่ และจบด้วยสงครามโลกครั้งที่ 2 ฯลฯ
จุดเปลี่ยนจากยุคใหม่สู่ยุคร่วมสมัย คือ การจบลงของสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1945

2.4 ยุคร่วมสมัย
ยุคใหม่เริ่มด้วยสงครามเย็น เป็นสงครามที่ไม่มีการจับอาวุธ ระหว่างโซเวียต(รัสเซีย) และ วันที่สงครามเย็นจบคือวันที่โซเวียตล่มสลาย ในปี ค.ศ. 1991
และสงครามตัวแทน คือ สงครามเกาหลี กับ สงครามเวียดนาม ฯลฯ
เราอยู่ในยุคร่วมสมัยนะครับ

เรียบเรียงโดย ข้อมูลโดย

Admin norrington

กษัตริย์นักเปลี่ยนแปลงแห่งรัสเซีย

vvv

ซาร์ปีเตอร์มหาราช
( Peter the Great 1672 – 1725 A.D. )

ในประวัติศาสตร์รัสเซีย พระนาม ซาร์ปีเตอร์มหาราช ได้จารึกอยู่ในความทรงจำของชาวรัสเซียตลอดมา เนื่องจากพระองค์มีชื่อเสียงในฐานะที่เปลี่ยนแปลงรัสเซียให้มีอำนาจและเป็นประเทศหนึ่งที่รู้จักในยุโรปพระองค์ทรงมุ่งหวังจะให้รัสเซียเป็นมหาอำนาจในโลกสมัยใหม่ โดยทรงปฏิรูปประเทศเลียนแบบยุโรปในหลายๆด้าน ทั้งการใช้ปฏิทินแบบสากลการสวมเสื้อตามแบบชาวยุโรป การบังคับให้ข้าราชสำนักโกนหนวดเครา เป็นต้น

ซาร์ปีเตอร์มหาราช เป็นพระราชโอรสของอซาร์อะเล็กซิส แห่งราชวงศ์โรมานอฟ พระองค์ประสูติเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1672 ณ พระราชวังเครมลิน เมื่อซาร์ปีเตอร์ทรงพระชนมายุเพียง 4 พรรษา ซาร์อะเล็กซิสก็เสด็จสวรรคตและมีผู้ครองราชย์ต่อกันมาจนถึงปี ค.ศ. 1696 ซาร์ปีเตอร์จึงขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ของรัสเซีย และพยายามผลักดันรัสเซียให้ก้าวขึ้นสู่เวทีการเมืองยุโรป โดยการทำสงครามแผ่แสนยานุภาพทางการทหาร ควบคู่ไปกับการดำเนินนโยบายทางการทูต

ในต้นรัชกาลของซาร์ปีเตอร์มหาราช พระองค์ทรงต่อสู่กับอุปสรรคมากมายในการที่จะสร้างรัสเซียให้เป็นมหาอำนาจ ดังนั้นรัสเซียจึงตกอยู่ในภาวะสงครามเกือบตลอดรัชกาลของพระองค์ และประเทศที่รัสเซียทำสงครามด้วยมากที่สุดก็คือ สวีเดน ซึ่งเปรียบเสมือนก้างชิ้นใหญ่ของรัสเซีย

รัสเซียทำสงครามกับสวีเดนยืดเยื้อนานถึง 21 ปี เนื่องจากซาร์ปีเตอร์ทรงต้องการขยายอาณาเขตเข้ายุโรปเพื่อหาทางออกทะเล เพราะประเทศรัสเซียเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล ดังนั้นเป้าหมายสำคัญที่รัสเซียทำสงคราม คือ ต้องการยึดทะเลบอลติกจาก สวีเดน และทะเลดำจาก ปรัสเซีย

ในรัชสมัยซาร์ปีเตอร์พระองค์ดำเนินนโยบายทางการทูต และทำสงครามอย่างชาญฉลาดพระองค์ไม่ผลีผลามที่จะก่อสงครามกับชาติและจักรวรรดิที่แข็งแกร่ง ทั้งพยายามประนีประนอมกับประเทศต่างๆเพื่อขยายการค้าและอุตสาหกรรม

ในปี ค.ศ. 1703 ซาร์ปีเตอร์ทรงโปรดให้สร้างเมืองหลวงใหม่ คือ เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ณ ลุ่มแม่น้ำนีวา ซึ่งเป็นเมืองท่าเล็กๆ เพื่อเปิดโลกทางการค้าสู้โลกตะวันตก และ ย้ายที่ทำการของรัฐบาลไปอยู่ที่นั่น

ตลอดรัชกาลซาร์ปีเตอร์ไม่เคยหยุดนิ่งที่จะพัฒนารัสเซียให้ทัดเทียมประเทศอื่นๆ ในยุโรป พระองค์ทรงปฏิรูปพยัญชนะรัสเซีย โปรดให้ใช้ตัวเลขอารบิกหรืออักขระอาหรับทรงสร้างโรงพิมพ์ ถนน โรงเรียน สนับสนุนอุตสาหกรรมใหม่สร้างกองทัพเรือให้แข็งแกร่ง และทรงสร้างโรงพยาบาลแห่งแรกของรัสเซียขึ้นในปี ค.ศ. 1706
ซาร์ปีเตอร์ทรงประสบความสำเร็จในด้านการปกครอง แต่ในด้านชีวิตส่วนพระองค์ ซาร์ปีเตอร์ทรงผิดหวังกับพระโอรสองค์เดียวคือ ซาเรวิช อะเล็กซิส ที่ทรงก่อการกบฏ ซาร์ปีเตอร์จึงต้องทรงสั่งให้ทหารจับกุมพระราชโอรส และทรงทรมานจนอะเล็กซิสสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1725

ซาร์ปีเตอร์มหาราชสวรรคตในปี ค.ศ. 1725 แต่พระราชกรณียกิจที่พระองค์ทรงเปิดทางไว้ ทั้งในทางการทหารและอุตสาหกรรมการค้ากับชาติตะวันตกอื่นๆ ได้นำซึ่งความเจริญรุ่งเรืองในประวัติศาสตร์รัสเซียต่อๆมา

รู้หรือไม่ ?
พระราชวังเครมลิน เป็นที่ประทับของซาร์มาทุกยุคทุกสมัย ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำมอสควา กำแพงพระราชวังทั้ง 3 ด้าน ยาวรวมกันกว่า 2 กิโลเมตร สูงถึง 65 ฟุต มีหอคอย 18 แห่ง และประตูทางเข้า 5 ประตู
แต่หลังจากการปฎิวัติในปี ค.ศ. 1917 รัสเซียปกครองด้วยระบอบสาธารณรัฐแบบคอมมิวนิสต์พระราชวังจึงเป็นที่ทำการของรัฐบาลสาธารณรัฐตั้งแต่นั้นมา

ตำนานคำว่า เ(ห)งี่ยน !

ดด

คำนี้นั้น ถ้าตัด ห. ทิ้ง คุณผู้ชายคงจะรู้จักกันดี เพราะในปัจจุบันเป็นคำที่ให้ความหมายคือมีความอยาก ความใครในทางกามารมณ์ เกิดอารมณ์ทางเพศจัดๆ ก็จะใช้คำนี้ ซึ่งคำนี้นั้น ไม่ใช่ศัพท์แสลงที่เกิดขึ้นมาใหม่เลย แต่เป็นคำที่ใช้มานานแล้ว มีประวัติย้อนไปถึงยุคของสุนทรภู่เลยทีเดียว

อันคำว่า เหงี่ยน (ตัด ห.ทิ้งไป!) นั้น ได้ถูกให้ความหมายไว้ว่า เป็นอาการอยากจัด ซึ่งโบราณนั้นมักใช้กับอาการอยากยาเสพติด หรืออยากทางเพศ

ในนิราศเมืองแกลง ได้มีการกล่าวถึงอาการอยากยาของผู้ร่วมเดินทางไปกับสุนทรภู่คนนึง ชื่อ นายแสง ขณะอยู่บนเรือที่จะไประยองตอนแล่นอยู่แถวบางปะกง สุนทรภู่เขียนไว้ว่า…

“สงสารแสงแข็งข้อจนขาสั่น
เห็นเรือหันโกรธบ่นเอาคนหลัง
น้ำจะพัดปัดตีไปสีชัง
แล้วคุ้มคลั่งเงี่ยนยาทำตาแดง”

เป็นอันว่า คำคำนี้นั้น แต่โบราณไม่ได้เป็นคำหยาบติดเรทที่ใช้ในความหมายทางเพศเท่านั้น แต่ใช้ได้ในกรณีที่เกิดอาการอยากยาด้วย ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป คำนี้ก็ถูกแปลงความหมายให้ใช้เฉพาะในเรื่องทางเพศและเป็นคำหยาบโลน ส่วนอาการอยากยานั้นก็มีคำที่ใช้อีกคำซึ่งทุกวันนี้ก็คงใช้กันอยู่ คือ เสี้ยน นั่นเอง